Curcuma longa L.
Zingiberaceae
ขมิ้น ( ภาคกลาง, ภาคใต้ ), ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว ( เชียงใหม่ ), ขี้มิ้น, หมิ้น ( ภาคใต้ )
เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดินรูปทรงกระบอก สีเหลืองอมส้ม กลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว ดอกออกเป็นช่อรูปทรงกระบอก มีใบประดับสีเขียวอ่อนเรียงซ้อนกัน ผลรูปทรงกลม แบ่งเป็น 3 พู
แก้ไข้เพื่อดี แก้ไข้เรื้อรัง แก้โรคผิวหนังอักเสบ แก้ธาตุพิการ ขับผายลม สมานแผล
แก้โรคเหงือกบวมเป็นหนอง รักษาแผลสด แก้โรคกระเพาะ แก้ไข้คลั่งเพ้อ แก้ไข้เรื้อรังผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องร่วง แก้บิด พอกแผลแก้เคล็ดขัดยอก ขับผายลมคุมธาตุ หยอดตาแก้ตาบวม ตาแดง ทาแผลถลอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ท้องอืดเฟ้อ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
บดเป็นผงเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด ผสมน้ำทาผิว ทาเม็ดผดผื่นคัน
Pueraria candollei Wall. ex Benth. Var mirifica ( Airy show & Savat )
Papilionaceae
กวาวเครือ
เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีหัวขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมี 3 ใบ รูปไข่กว้าง ใบย่อยด้านข้างใบเบี้ยว ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงที่ซอกใบและปลายกิ่งดอกสีขาวและสีม่วงอ่อน รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝักแบน เมล็ดรูปโล่ สีม่วงแกมน้ำตาล
บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงส่วนต่าง อายุวัฒนะ
ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ บำรุงเนื้อให้เจริญ ทำให้เลือดคั่งเต่งที่มดลูก บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ
Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker.
Zingiberaceae
ขิงทราย (มหาสารคาม), กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ)
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร
เป็นเหง้าใต้ดินอ้วนป้อมและแตกแขนงเป็นหัวด้านข้าง เนื้อใบมีสีม่วงเข้มเกือบดำ
เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียว มีน้ำมันหอมระเหยกาบใบสั้นอวบหนา 2 อัน สีแดงเรื่ออัดกันไม่แน่น แผ่นใบรูปไข่กลับหรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 7-12 เซนติเมตร ยาว 7-20 เซนติเมตร ปลายใบติ่งแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอมเทามีขนกลุ่ม
เป็นช่อดอกเป็นเชิงลดเกิดที่ปลายยอดลำต้นเทียม ใบประดับช่อดอกเป็นใบกาบหุ้มโคนก้านช่อดอก ดอกสมบูรณ์เพศสมมาตรด้านข้างกลีบเกลี้ยงยาว 4 เซนติเมตร กลีบของดอกที่มีขนาดใหญ่ ด้านล่างเป็นกลีบข้าง 2 กลีบ มีขนาดเล็กกว่ากลีบปากสีขาว
หัว เหง้า กระชายดำ เป็นว่านที่มีสรรพคุณ แก้โรคบิด ปวดท้อง ลมป่วงทุกชนิด โดยใช้หัวว่านฝนผสมกับเหล้าโรง ถ้าป่นเป็นผงทั้งหัวและต้นผสมด้วยน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดลูกกลอน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง บำรุงทางเพศ ขับลม และ แก้ปวดท้อง
Centella asiatica (L.) Urb.
Umbelliferae
ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้)
เป็นไม้ล้มลุก มีรากงอกตามข้อ มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ ใบเดี่ยว รูปไต ขอบใบหนักมน แผ่นใบบาง สีเขียวมีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อแบบซี่ร่มที่ซอกใบ มีดอกย่อย 2-3 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีม่วงอมแดง สลับกันผลเป็นผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีดำ
บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน
รสหอมเย็น แก้ช้ำใน แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้โรคปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค แก้ตับอักเสบ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง
รสขม เป็นยาดับร้อน ลดอาการอักเสบ บวม แก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ดีซ่าน ใบต้มกิน แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ตำพอกหรือต้มน้ำกิน แก้ฝีหนอง แก้หัด ต้มกับหมูเนื้อแดงกิน แก้ไอกรน
รสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ
Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall. ex Nees.
Acanthaceae
เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว รูปไข่ แผ่นใบบาง สีเขียว ดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกเล็กสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก กลีบบนมีทางยาวสีแดงเข้มพาดอยู่ ผลเป็นฝัก สีเขียวอมน้ำตาล ผลแห้งแตกได้ 2 ซีก
แก้ไข้ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย
ก่อนออกดอก รสขม เป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ แก้หวัด แก้ปอดอักเสบ แก้บิด เจริญอาหาร ต้มกับเบญจมาศสวน กินแก้ไส้ติ่งอักเสบ ลดความดันโลหิต
รสขม บดผสมน้ำมันพืช ทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ใบสด นำมาเคี้ยวกลืนน้ำ แก้คออักเสบ เจ็บคอ
ที่มา : ตำราวิชาการ อาหารสุขภาพ กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก