เลือกประเทศหรือภูมิภาคอื่น หากต้องการดูเนื้อหาเฉพาะตามตำแหน่งที่ตั้งของคุณและเลือกซื้อสินค้าแบบออนไลน์ ภาษาไทย X

白果叶

( Ginkgo ใบแปะก๊วยแห้ง )

ใบแปะก้วย ใบแปะก๊วย Ginkgo biloba

ใบแปะก๊วยแห้ง แปะก๊วยเป็นพืชที่มีการใช้มานานกว่า 5,000 ปี ทั้งในแถบเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และนิวซีแลนด์ โดยส่วนที่ใช้คือใบ แปะก๊วยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ginkgo Biloba L. อยู่ในวงศ์ Ginkgoaceae

สารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (ginkgo-flavone glycosides) และเทอร์ปีน ได้แก่ ginkgolides และ bilobalides โดยแปะก๊วยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงเช่นเดียวกับโสม คือเพิ่มเอนไซม์กำจัดอนุมูลอิสระ และจับโลหะหนักทั้งในเซลล์ทั่วไปและเซลล์สมองด้วย นอกจากนี้แปะก๊วยยังมีฤทธิ์ปกป้องการตายของไมโทคอนเดรียจากกลไกต้านอนุมูลอิสระ และเพิ่มการอยู่รอดของ DNA ในไมโทคอนเดรีย จากการเพิ่มการทำงาน telomerase ทำให้ลดการเกาะกลุ่ม protein kinase Akt ชะลอการเสื่อมของ endothelial progenitor cells (EPCs) ที่เป็นตัวตั้งต้นการสร้างหลอดเลือด แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าแปะก๊วยยับยั้งการรวมกลุ่มของเกล็ดเลือดได้เช่นกัน

สารสกัดในใบแปะก๊วยในโมโนกราฟ ของเยอรมันซึ่งมีชื่อว่า Ginkgo Biloba Leaf Extract ระบุว่า สารสกัดนี้มี * ฟลาโวนไกลโคไซด์ (Flavone Glycoside) 22-27% * เทอร์ปีนแลคโตน (Terpene Lactone) 5-7% * กิงโกไลด์เอ กิงโกไลด์บี และ กิงโกไลน์ซีประมาณ 2.8-3.4% * ไบโลบาไลด์ประมาณ 2.6-3.2% * กรดกิงโกลิก (Ginkgolic Acid) ต่ำกว่า 5 mg/kg (สารนี้ก่อให้เกิดอาการแพ้) สารสกัดใบแปะก๊วยจากประเทศเยอรมันีที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาทางคลีนิก

ในแนวทางเวชปฏิบัติของไทยมีการศึกษาจำนวนมากที่ยืนยันประสิทธิภาพของแปะก๊วยต่อการเพิ่มความจดจำและคะแนนประเมินประสิทธิภาพในการรักษาภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ระดับน้อยถึงปานกลาง การใช้แปะก๊วยอาจให้ผลดีต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อให้เสริมกับการรักษาหลัก แต่อาจไม่ได้ส่งผลต่อระดับความดันโลหิตในมนุษย์ ด้านความปลอดภัยหลายการศึกษาสรุปว่าแปะก๊วยไม่ได้เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ตับแต่ผลในการเกิดเลือดออกก็ยังเป็นสิ่งที่ควรระวังอีกทั้งควรเลือกแปะก๊วยที่มีการผลิตที่น่าเชื่อถือเพื่อลด ginkgotoxin ที่อาจปนเปื้อนในใบแปะก๊วยเนื่องจากส่งผลต่อการทำงานของ pyridoxine เป็นผลให้เกิดพิษต่อระบบประสาท และควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดเนื่องจากเสริมฤทธิ์กันอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า เลือดหยุดไหลยากได้

สารสกัดใบแปะก๊วย หรือ EGb 761 สามารถยับยั้งการรวมกลุ่มของ β-amyloid-peptide (Aβ) และความเสียหายจากสารอนุมูลอิสระต่อเซลล์สมองได้ สารสกัดใบแปะก๊วย EGb 761 มีข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลางตามแนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อมของประเทศไทย โดยแนะนำขนาดเริ่มต้น 120 mg/วัน และปรับจนถึง 240 mg/วัน * การศึกษาของใบแปะก๊วยต่อภาวะสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์มีจำนวนมาก จากงานวิจัยการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ในปี ค.ศ. 2014 พบว่าการรับประทานใบแปะก๊วยในระยะเวลาประมาณ 22-26 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพการรักษาโรคอัลไซเมอร์รวมถึงภาวะสมองเสื่อม สามารถชะลอการลดลงของคะแนนประเมินได้ –0.52 หน่วย (95% CI –0.98, –0.05) และเพิ่มประสิทธิภาพการทำกิจวัตรประจำวันได้แต่พบประสิทธิภาพในการรักษาในกลุ่มที่ได้รับแปะก๊วย 240 mg/วัน เท่านั้น สอดคล้องกับงานวิจัยการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ในปี ค.ศ. 2016 ในผู้ป่วยสมองเสื่อมพบว่าการใช้แปะก๊วยให้ผลชะลอการลดลงของคะแนนประเมินประสิทธิภาพการรักษาสมองเสื่อมด้วยแบบประเมิน SKT (short cognitive performance test) ได้ดีกว่ายาหลอกถึง -2.08 คะแนน (95% CI -2.40,-1.76) และลดความเครียดของผู้ดูแลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อคำนวณจำนวนผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาเพื่อให้ตอบสนองการรักษา (number needed to treat: NNT) ของการรักษาสมองเสื่อมแล้วพบว่า การใช้แปะก๊วยมีค่า NNT 4-5 ในทุก ๆ คะแนนประเมินประสิทธิภาพการรักษาสมองเสื่อม * หลายงานวิจัยพยายามอธิบายผลของการลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดของแปะก๊วยในด้าน 1) ลดระดับน้ำตาลในเลือด จากกลไกลดอนุมูลอิสระในตับอ่อน เพื่อความการอยู่รอดของ β-cells เพิ่ม insulin receptor และ glucose transporter-3 และเพิ่ม PI-3 kinase (PI3K) เพื่อเพิ่มการนำน้ำตาลเข้าเซลล์กล้ามเนื้อเช่นเดียวกับการกระตุ้น AMPK 2) ลดระดับไขมันในเลือดจากการกระตุ้น AMPK เพื่อเพิ่มการสลายไขมัน 3) ลดความดันโลหิตจากการลด TNF-α, IL-6 และ IL-1β ในไต เพิ่มการสร้าง nitric oxide * ผลการศึกษาในการลดระดับน้ำตาลแตกต่างออกไป โดยในปี ค.ศ. 2018 มีการรายงานการใช้แปะก๊วย 120 mg/วัน ร่วมกับ metformin ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ (HbA1c 8-10%) และเป็นเบาหวานมาไม่เกิน 5-7 ปี พบว่าการเพิ่มแปะก๊วยเข้ามาร่วมกับการรักษาหลักคือ metformin ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการลด HbA1c (7.7%±1.2% vs 8.6%±1.6%, p<0.001) ระดับอินซูลินในเลือดลดลงซึ่งแสดงถึงการนำ insulin ไปใช้ได้มากขึ้น (13.4±7.8 μU/mL vs 18.5±8.9 μU/mL, p =0.006) ลดดัชนีมวลกาย (31.6±5.1 vs 34.0±6.0, p<0.001) และดัชนีไขมันหน้าท้อง (158.9±67.2 vs 192.0±86.2 , p=0.007) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับ baseline ซึ่งแตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับ metformin ร่วมกับยาหลอกที่มีค่าทั้งหมดไม่แตกต่างจาก baseline

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ฤทธิ์การรักษาอาการผิดปกติในสมอง
  2. ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว จากการศึกษาพบว่าสารพวกฟลาโวนอยด์ในสารสกัดแปะก๊วยมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เนื่องจากกระตุ้นการสร้างพรอสตาไซคลินและกระตุ้นการหลั่งไนตริกออกไซด์ มีผลทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด
  3. ฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนเลือดในสมอง สารสกัดใบแปะก๊วย เพิ่มการไหลเวียนเลือดที่สมองของหนูขาวได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านปัจจัยกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด (Platelet activating factor: PAF) มีความสามารถในการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
  4. ฤทธิ์เพิ่มความจำ การให้สารสกัดแปะก๊วยในหนูถีบจักร สามารถกระตุ้นการดูดซิมโคลีน (Choline) ที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัส และ ลดการสูญเสียของ Muscarinic Recpetor และ Alpha-2 Adrenoreceptor (หรือ Alpha-2 Adrenergic receptor ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเกล็ดเลือด) ที่มักพบเมื่ออายุมากขึ้น
  5. ฤทธิ์การรักษาเกี่ยวกับการทรงตัวและได้ยิน สารสกัดแปะก๊วยสามารถเพิ่มการเกิด Action Potential ของเส้นประสาทคอเคลีย (Cochlear Nerve) ในหนูตะเภาได้หลังการถูกทำลาย อีกทั้งสารสกัดสามารถทำให้การทรงตัวดีขึ้นหลังฉีดแก่หนูขาวที่เวสติบูลาร์นิวเคลียส (Vestibular Necleus) ด้านหนึ่งถูกทำลายไป

การศึกษาทางคลีนิกในการใช้ใบแปะก๊วยรักษา

  1. ผลในการรักษาอาการ Cerebral Insufficiency อันประอกบด้วย อาการไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม งุนงง ไม่มีแรง เหนื่อย สมรรถภาพทางกายลดลง ซึมเศร้า วิตกกังวล หูอื้อ ปวดศีรษะ พบว่าอาการโดยรวมดีขึ้นและพบว่าทำให้ความจำระยะสั้นดีขึ้นด้วย ผลการใช้รักษาอาการความจำเสื่อมรวมทั้งอัลไซเมอร์พบว่าทำให้ความสามารถในการรู้คิดและสมดุลทางสังคมดีขึ้น ส่วนอาการความจำเสื่อมในระดับอ่อนถึงปานกลางพบว่าทำให้ความจำบางส่วนพัฒนาขึ้นเช่นกัน
  2. ผลในการรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน ซึ่งมีอาการขาดเลือดไปเลี้ยงปลายมือปลายเท้า พบว่ารักษาได้

ที่มา : พินิจ จันทรและคณะ, กฤษฏิ์ วัฒนธรรม

价钱

白果叶 ใบแปะก๊วยแห้ง 
แปะก๊วยเป็นพืชที่มีการใช้มานานกว่า 5,000 ปี ทั้งในแถบเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และนิวซีแลนด์ โดยส่วนที่ใ...
白果叶 ใบแปะก๊วยแห้ง 
แปะก๊วยเป็นพืชที่มีการใช้มานานกว่า 5,000 ปี ทั้งในแถบเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และนิวซีแลนด์ โดยส่วนที่ใ...
白果叶 ใบแปะก๊วยแห้ง 
แปะก๊วยเป็นพืชที่มีการใช้มานานกว่า 5,000 ปี ทั้งในแถบเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และนิวซีแลนด์ โดยส่วนที่ใ...
ใบแปะก๊วยแห้ง Ginkgo

白果叶

外送

等待接收交付到您的主页的产品。( 邮政 (EMS), 嘉里快递, Grab, 啦啦快送, Lineman, Robinhood ).

在哪里买

来到我们的商店,我们可以给出更多建议。 我们的商店距离BTS轻轨仅5分钟步行路程。
永昌堂药房地图 ►

联系方式

您可以致电给我们
电码 : 02-212-4082
电子邮件 : yc.drugstore@gmail.com
facebook page : 脸书
Facebook Messenger : 脸书信使
LINE : 连我
Twitter : 推特
Instagram : 照片墙
Weibo : 微博
WhatsApp : 瓦次艾普
Tiktok : 抖音
WeChat : 微信
KakaoTalk : 카카오
VK : VK
Viber : Viber
Zalo : Zalo
Snapchat : Snapchat
Signal : Signal

推荐