การคัดจมูกเกิดจากหลอดเลือดและโพรงไซนัสขยายตัวเนื่องจากการอักเสบ
อาจเกิดจากไวรัสหวัด จมูกอักเสบภูมิแพ้ เป็นต้น
เกิดความรำคาญ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะเด็ก ผู้ป่วยบางรายมีอาการคัดจมูกรุนแรงจนต้องหายใจทางปาก มีปัญหาเรื่องการรับกลิ่น และ มีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ
หากมีอาการร่วม ระยะเวลาเกิดอาการ ปัจจัยกระตุ้นต่างๆ เช่น เลือดกำเดา อาการปวดแน่นข้างเดียว อาการทางตา
อาจใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ (humidifier) อาจใช้น้ำมันหอมระเหยร่วม แต่ต้องล้างทำความสะอาดอย่างดี เพื่อไม่ให้มีน้ำมันหอมระเหยและสิ่งตกค้างในเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อกันไม่ให้กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้กำเริบ และ อักเสบในโพรงจมูก จนทำให้เป็นซ้ำได้
ใช้หลักการลดแรงต้านทานภายในทางเดินหายใจจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ช่วยกำจัดเชื้อโรค ลดการสร้างสารคัดหลั่งและสารก่อการอักเสบ ช่วยเรื่องการนอนหลับในผู้เริ่มนอนหลับยาก ลดอาการ เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก จาม การศึกษาผลการสูดดมไอร้อนอุณหภูมิ 42-44 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 นาทีในผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ พบว่า ช่วยลดอาการคัดจมูกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)
ยาสามัญประจำบ้านที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นองค์ประกอบ (Active aromatic vapors) อาจเป็นน้ำมันหอมระเหยชนิดเดี่ยวหรือผสมกัน ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหยชนิดดมและน้ำมันหอมระเหยชนิดขี้ผึ้ง น้ำมันหอมระเหยมีความเฉพาะเจาะจงกับ
ตัวรับ transient receptor potential melastatin member 8 (TRPM 8) ตัวรับที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเย็น ทำให้อุณหภูมิภายในโพรงจมูกลดลง ลดอาการคัดจมูก จมูกโล่งสบาย เย็นขึ้น รู้สึกว่าอาการคัดจมูกบรรเทาลงเมื่อเทียบกับการสูดอากาศธรรมดา โดย กระตุ้นให้แคลเซียมเข้าเซลล์ ทำให้เกิด action potential ของกระแสประสาทนำไปที่บริเวณ dorsal horn ที่เป็นจุดสำคัญของการกระจายสัญญาณประสาทเพื่อส่งสัญญาณไปสมอง
ตัวรับ transient receptor potential vanilloid 1 (TRPV 1) ตัวรับที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกร้อน และเป็นตัวรับหลักที่ลดอาการปวดได้ การกระตุ้นตัวรับ TRPV 1 ที่มากพอมีผลลดความถี่ในการปล่อย bradykinin ทำให้ความถี่การไอลดลง
เมนทอล (LevoMenthol) - จับกับตัวรับ TRPM 8 ทำให้อุณหภูมิในจมูกลดลง
การบูร (Camphor) - กระคุ้นตัวรับ TRPM 8 ให้เกิดความรู้สึกเย็นโล่งสบาย
น้ำมันยูคาลิปตัส (Eucalyptus oil) - กระคุ้นตัวรับ TRPM 8 และ transient receptor potential ankyrin 1 (TRPA 1) ซึ่งเป็นตัวรับที่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ เป็นผลดีสำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันยูคาลิปตัสเป็นส่วนประกอบในหวัด เพราะผู้ป่วยมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย มีข้อห้ามสำหรับการใช้น้ำมันยูคาลิปตัสในผู้ป่วย acute intermittent porphyria ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่มีสาร porphyria มากเกินไป และ ผู้ป่วยแพ้สารจำพวกยางจากไม้ตระกูลเดียวกับยูคาลิปตัส เช่น fevertree, gum tree เป็นต้น และ ห้ามรับประทานน้ำมันยูคาลิปตัสชนิด crude/undiluted เนื่องจากมีโอกาสเกิด fetal toxicity ได้
การศึกษา ยาขี้ผึ้ง น้ำมันหอมระเหยสูตรผสม เมนทอล การบูร น้ำมันยูคาลิปตัส พบว่าเพิ่มการไหลเวียนของอากาศในจมูกเมื่อเทียบกับยาพื้นขี้ผึ้งอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนอากาศในโพรงจมูกถึงระดับที่สามารถลดอาการคัดจมูก (decongestion) ตั้งแต่ 5 นาทีแรกหลังทา และอยู่ได้ถึง 8 ชั่วโมง การศึกษาจากสถาบันวิจัยประเทศอังกฤษพบว่า ผู้ป่วยที่ใช้ ยาขี้ผึ้ง น้ำมันหอมระเหยสูตรผสม เมนทอล การบูร น้ำมันยูคาลิปตัส รู้สึกเย็นและโล่งสบายจมูก ภายใน 12 วินาที - 15 นาที ซึ่งเร็วกว่าผู้ป่วยที่ทายาพื้นขี้ผึ้งปิโตรเลียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาการคัดจมูกลดลงภายในเวลา 62 วินาที ต่างจากกลุ่มที่ทายาพื้นปิโตรเลียม (162 วินาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษา ยาขี้ผึ้ง น้ำมันหอมระเหยสูตรผสม เมนทอล การบูร น้ำมันยูคาลิปตัส พบว่ามีความสามารถในการลดความรุนแรงและความถี่ของการไอได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) และแนวโน้มลดอาการไอได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาพื้นปิโตรเลียม (p=0.09) ทั้งนี้อาจเนื่องจากการถูนวดทำให้เกิดความร้อน ส่งผลต่อตัวรับ TRPV 1 ซึ่งสามารถลดอาการไอได้ ผู้ป่วยเด็กที่ทานวดด้วย ยาขี้ผึ้ง น้ำมันหอมระเหยสูตรผสม เมนทอล การบูร มีคุณภาพการนอนและระยะเวลานอนโดยไม่ตื่นระหว่างคืนดีกว่ากลุ่มที่ทานวดด้วยยาพื้นขี้ผึ้งและกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ทั้งนี้ผู้ผลิตแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป และเก็บให้พ้นมือเด็ก
บทความโดย : อ.ภญ.สิรินุช พละภิญโญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียบเรียงใหม่โดย : ร้านขายยาย่งเชียงตึ๊ง