แชเฮา โกฐจุลา ชิงฮาว โกฐจุฬาลําพา โกฐจุลาลําภา โกฐจุฬาลัมภา Kot Chulalumpa โกฐจุฬาลําพาจีน Artemisia chamomila C.G.A. Winkl. A. stewartii C.B. Clarke, A. wadei Edgew.
โกฐจุฬาลัมพา โกฐจุฬาลัมพาเป็นส่วนเหนือดินแห้งที่เก็บในระยะออกดอกของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artemisia annua L. ในวงศ์ Asteraceae (Compositae)
ลักษณะพืช ไม้ล้มลุกอายุปีเดียว สูง 0.7-1.6 (-2) เมตร แตกกิ่งมาก ทั้งต้นมีกลิ่นแรง มี ขนประปราย หลุดร่วงง่าย ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียง เวียน มีต่อมโปร่งแสง ใบบริเวณโคนต้นรูป ไข่หรือรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ขอบใบหยัก ลึกแบบขนนก 3 หรือ 4 ชั้น เป็น 5-8(-10) คู่ แฉกใบจักฟันเลื่อยลึกรูปสามเหลี่ยม กว้าง ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.2 มิลลิเมตร เส้นกลางใบเด่นชัดทางด้านบน แกน กลางใบมีปีกแคบ อาจจักฟันเลื่อยเล็กน้อยหรือ เรียบ ใบบริเวณกลางต้นหยักลึกแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ใบใกล้ยอดรวมทั้งใบประดับหยัก ลึกแบบขนนก 1 หรือ 2 ชั้น ก้านใบสั้นมาก ช่อดอก แบบช่อแยกแขนง รูปพีระมิดกว้าง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น รูปกลม มีจํานวน มาก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 มิลลิเมตร สีเหลืองถึงสีเหลืองเข้ม ก้านช่อย่อยสั้น ดอกไม่มี แพปพัส วงนอกเป็นดอกเพศเมีย มี 10-18 ดอก โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายจัก เป็นชีฟัน 2 (3-4) ซี่ ยอดเกสรเพศเมียแหลม ดอกย่อยตรงกลางเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มี 10-30 ดอก โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายจักซี่ฟัน 5 ซี เกสรเพศผู้มี 5 อัน อับเรณู เชื่อมติดกัน แต่ละอันมีรยางค์ด้านบน 1 อัน รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม และมีรยางค์ปลายมน ที่โคน 2 อัน ผล แบบผลแห้งเมล็ดล่อนรูปไข่ แกมรูปรี ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
โกฐจุฬาลัมพามีเขต การกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป ภาคเหนือของทวีปแอฟริกา และในทวีปเอเชีย ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมักพบขึ้นทั่วไป ตามเนินเขา ข้างทาง ที่รกร้าง หรือตามชายป่า ที่สูงจากระดับน้ําทะเลตั้งแต่ 200-3,650 เมตร มีผู้นํามาทดลองปลูกในประเทศไทยและพบว่า ขึ้นได้ดี ออกดอกและเป็นผลได้ตั้งแต่เดือน สิงหาคมถึงพฤศจิกายน
โกฐจุฬาลัมพาประกอบด้วย ส่วนลําต้นแห้งรูปทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-6 มิลลิเมตร ยาว 30-80 เซนติเมตร มักแตกกิ่งที่ตอนบนของลําต้น มีสีเขียวแกม สีเหลืองหรือสีเหลืองแกมสีน้ําตาล มีสันตามยาว เนื้อแน่นเล็กน้อย หักง่าย ส่วนใบมักพบเรียงสลับ ม้วนหรือหดยัน หักง่าย สีเขียวเข้มหรือสีเขียว แกมสีน้ําตาล อาจพบใบหยักลึกสามชั้น แฉก รูปขอบขนานหรือรูปรียาว ผิวทั้ง 2 ด้านมีขนนุ่ม ช่อดอกเป็นช่อแยกแขนง ช่อย่อยเป็นช่อกระจุก แน่น สีเหลืองอ่อนถึงสีขาวแกมสีเหลือง เส้น ผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 มิลลิเมตร มีกลิ่น หอมเฉพาะ รสขมเล็กน้อย องค์ประกอบทางเคมี โกฐจุฬาลัมพามีสารอนุพันธ์ เชสควิเทอร์พื้นแล็กโทน (sesquiterpene lactones) หลายชนิด แต่ที่สําคัญคือ ชิงฮาวซู (ginghaosu) หรืออาร์เทแอนนูอิน (arteannuin) หรืออาร์เทมิซินิน (artemisinin) ร้อยละ 0.3 - 0.6 นอกจากนั้น ยังพบสารกลุ่มเฟลโวนอยด์ (flavonoids) อีกหลายชนิด เช่น คาสทิซิน (casticin), เซอร์ชิลนีออส (cirslineol), คริโซพลืนอลดี (chrysoplenol-D), คริโซพลีเนทิน (chrysoplenetin)