กระวานดำ กระวานแท้ Zingiberaceae Siam cardamom clustered cardamom best cardamom amomum kravanh pierre ex gagnep ลูกเอ็น กระวานแดง กระวานขาว กระวานโพธิสัตว์ round cardamon fruit เค่าโข่ว A. compactum Soland ex Maton การวานจันท์ ลูกเอน กระวาน กระวานเทศ amomum kravanh pierre ปล้าก้อ โต้วโค่ว fructus Amomi rotundus เครื่องเทศ spice
ลูกกระวาน กระวานเป็นผลแก่แห้งของพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Amomum testaceum Ridl. ในวงศ์ Zingiberaceae
ไม้ล้มลุก มีเหง้าทอดไปตามพื้นดิน กาบใบหุ้มซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สูง 1.5 - 2 (-3) เมตร มีลิ้นใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-12 ซม ยาว 15-25(-60) ซม ปลายแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนมน ขอบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก หรือ รูปไข่กลับ ยาว 6-15 ซม ก้านช่อดอกยาว 5-15 ซม ใบประดับบาง สีน้ำตาลอ่อน มีขนคาย รูปขอบขนาน หรือ รูปไข่ ยาวประมาณ 4 ซม ปลายแหลม เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ ในซอกใบประดับมีดอก 1-3 ดอก ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 2 ซม ปลายแยกเป็น 3 แฉก แฉกยาวประมาณ 2 มม มีขนนุ่มคล้ายไหม กลีบโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบและยาวกว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย ปลายแยกเป็น 3 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปแถบ ยาวประมาณ 1.2 ซม เกสรเพศผู้เป็นหมันเปลี่ยนไปคล้ายกลีบดอกขนาดใหญ่ รูปช้อนปลายมน สีขาว มีแถบสีเหลืองกลางกลีบ เกสรเพศผู้สมบูรณ์มี 1 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 8 มม อับเรณูรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 4 ซม ยาวประมาณ 5 มม ปลายอับเรณู มีรยางค์คล้ายปีก 3 ปีก ปีกข้างรูปสี่เหลี่ยม ปลายมนหรือตัด กว้างประมาณ 3 มม ยาวประมาณ 5 มม ปีกกลางรูปสี่เหลี่ยมปลายตัด ยาวประมาณ 5 มม รังไข่ใต้วงกลีบ มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ผลแบบผลแห้งแตกรูปค่อนข้างกลม อาจเป็นสันเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม สีนวล มี 3 พู ผิวอ่อนมีขน ผลแก่เกลี้ยง เมล็ดเล็ก มีจำนวนมาก เมื่ออ่อนสีขาว มีเยื่อหุ้ม
กระวานมีเขตกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ ไทย) ชอบขึ้นในที่ร่มที่มีความชื้นสูง มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุม ในประเทศไทยพบในป่าแถบเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี ทางใต้ของอำเภออุ้งผาง จังหวัดตาก ลงไปทางภาคใต้ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงจังหวัดนราธิวาส
กระวานเป็นผลรูปค่อนข้างกลม มี 3 พู อาจเป็นสันเล็กน้อย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1.5 ซม สีนวลหรือสีน้ำตาลอ่อน ปลายผลเป็นติ่งแหลมหรือเป้นรยางค์ ยาวได้ถึง 8 มม มีขนอุยที่ขั้วทั้ง 2 ด้าน เปลือกผลบาง เพราะ มักแตกกลางพูเป็น 3 ส่วน แต่ละส่วนมีผนังกั้น แต่ละพูมีเมล็ดประมาณ 10 เมล็ดเบียดติดกัน เมล็ดเล็ก รูปร่างเป็นหลายเหลี่ยมไม่แน่นอน กว้างและยาว 3-4 มม สีน้ำตาล กลิ่นหอมคล้ายการบูร รสเผ็ดร้อน
กระวานมีน้ำมันระเหยง่าย volatile oil ประมาณร้อยละ 5 ซึ่งประกอบด้วยพิมเสน borneol และ การบูร camphor ที่มีปริมาณใกล้เคียงกันเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นมีสารในกลุ่มเทอร์พีน terpenes เช่น ไพนิน pinene, แคริโอฟิลลีน caryophyllene และ ไดเทอร์พีนเพอร์ออกไซด์ diterpene peroxide
รสเผ็ด อุ่น มีฤทธิ์สลายความชื้น ทำให้ซี่หมุนเวียน แก้อาการจุกเสียด แน่นลิ้นปี่ เบื่ออาหาร มีฤทธิ์ให้ความอบอุ่นแก่กระเพาะอาหารและลำไส้ แก้อาเจียน รสเผ็ดร้อนหอม ใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และ จุกเสียดแน่น เป็นยาขับเสมหะ บำรุงธาตุ กระจายเลือดและลมให้ซ่าน ผสมยาถ่ายอื่นๆ ป้องกันไม่ให้จุกเสียดและไซ้ท้อง
ผลแก่ของกระวานประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย 5-9% ซึ่งมีสารสำคัญ คือ borneol, camphor, 1,8-cineole, linalool, pinene เป็นต้น มีฤทธิ์ขับลม ลดการบีบตัวของลำไส้ จากการทดลองพบว่ามีความปลอดภัยและไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดเอทานอลและสารคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Microsporum gypsicum, Trichophyton rubrum, epiderphyton flocosum, candida albicans, และ cryptococcus neoformans