客戶健康 這是永昌堂一直放在第一位的事。
永昌堂致力於您和您所愛的人。 健康 無疾病 ย่งเชียงตึ๊งจึง 長期以來深受信賴 永昌堂 這是一家老藥店,有照顧顧客健康的經驗。在很長一段時間內
永昌堂精選優質藥品,乾淨新鮮。่
這就像是給年長的親戚或家裡的孩子選藥一樣。
前往永昌堂十分便捷,距离 BTS 鄭王橋站 仅 5 分钟步行路程。
此外,前往永昌堂藥局也很方便,路線很多。皆來自 BTS 輕軌,湄南河快艇、巴士、計程車或私家車。永昌堂也有停車場。
"เจริญกรุง" พื้นที่ด้านตะวันออกริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เห็นได้จากข้อความในพระราชพงศาวดาร บันทึกของชาวต่างชาติ ตลอดจนแผนที่แสดงเส้นทางสัญจรทางน้ำจากปากแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงกรุงศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของกงสุลตต่างประเทศ บ้านพักทูต บ้านหมอสอนศาสนา พ่อค้า และที่พักของชาวต่างชาติทั้งตะวันตกและตะวันออก การเข้ามาของชาวเอเชีย นับตั้งแต่ ชาวทะวาย ชาวลาว ชาวฮินดูหรือพราหมณ์ และ ชาติตะวันตก ที่เริ่มสร้างสถานกงสุลของตนเอง และชุมชนนานาชาติที่เริ่มถือกำเนิดขึ้นภายหลังการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศในครั้งนันเป็นดั่งปฐมบทของ "ถนนเจริญกรุง" ถนนเจริญกรุงประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า "ถนนใหม่" ชาวตะวันตกจึงเรียกกันว่า "New Road" ส่วนชาวจีนเรียกว่า "ซิงพะโหล่ว" ( 新打路 ) ก็หมายถึงถนนใหม่ด้วยเช่นกัน ถนนเจริญกรุง วัด บ้าน ชุมชน สายนี้ ได้มีการพัฒนาการมาตั้งแต่อดีตนับต่อเนื่องสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยชุมชนชาวไทย จีน แขก ฝรั่ง ลาว ญวน มอญ และอีกหลายเชื้อชาติ ก่อให้เกิดการสร้างชุมชน วัดวาอาราม ศาลเจ้า โบสถ์ มัสยิด และเทวสถานจำนวนมากมาย ทำให้เกิดเส้นทางการค้าขายนานาชาติที่เชื่อมโยงสยามประเทศเข้ากับยุโรป เอเชีย อาหรับ อินเดีย และ อาเซียน กลายเป็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นสถานที่กำเนิดการศึกษาสู่การพัฒนาคน พัฒนาชาติ วางระบบการเงินการธนาคาร และ การโรงแรม เป็นถนนสายสำคัญของการพัฒนาคมนาคมของชาติ โดยสืบเนื่องมาจากแนวพระราชดำริและสายพระเนตรที่กว้างไกลของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่มีพระประสงค์ให้สังคมไทยมีความเป็นอารยะ เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ กอปรกับความวิริยะ อุตสาหะ ของพสกนิกรชาวไทยทุกเชื้อชาติและศาสนา ได้ร่วมกันทำสิ่งที่ดีงาม ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ให้กับถนนสายแรกของประเทศไทย คือ ถนนเจริญกรุง จึงมีคุณค่าและความหมายมากกว่าถนนหนทางที่สัญจรไปมา ซึ่งถนนเจริญกรุง ยาวตั้งแต่ สำเพ็ง ตลาดน้อย วัดสามปลื้ม บางรัก ยาวลงมาจนถึง ชุมชนบ้านทวาย
นับตั้งแต่พระยาทวายนำพรรคพวกและครอบครัวสมัครเป็นข้าสวามิภักดิ์พึ่งพระบรมโพธิสมภารครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินตำบลบ้านคอกกระบือให้พระยาทวายและพรรคพวกตั้งบ้านอยู่ และสร้างพระอาราม วัดดอนพม่า กล่าวกันว่า พระยาทวายผู้นั้นคือ มังจันจ่า ที่ก่อตั้งวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2340 แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดดอนทวาย ร้านขายยาจีนย่งเชียงตึ๊งก็ตั้งอยู่ณ ย่านนี้
ค.ศ. 1934 อากงชาวจีนโพ้นทะเล อายุ 18 ปี โล้สำเภาจากเมืองจีน เข้ามายังประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1962 เปิดร้านอย่างเป็นทางการ ณ ปากซอยเจริญกรุง 63 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ค.ศ. 1998 ย้ายข้ามฝั่งมาใกล้ปากซอยเจริญกรุง 63 มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านยาในปัจจุบัน