แชตี่อึ๊ง รากแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rehmannia glutinosa (Gaertn.) Libosch. ex Fisch. & C.A. Mey. วงศ์ Scrophulariaceae
ระบายความร้อนในเลือดบำรุงเลือดและอินชี่ของตับและไต เสริมสารนํ้า ระบายความร้อนในเลือด เสริมอินชี่ของตับและไต สร้างสารนํ้า
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 10-30 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนอุยทั้งชนิดมีต่อมและ ไร้ต่อมปกคลุมหนาแน่น รากอวบหนา รูปกระสวย เมื่อสดสีส้ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-5 เซนติเมตร ยาว 8-24 ซม ลำต้นตั้งตรง อาจจะแตกกิ่งจากโคนต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบที่โคนต้นเรียงเวียนเป็นกระจุก ใบที่อยู่สูงขึ้นไปเรียงเวียนห่างๆ รูปไข่ รูปไข่กลับแกมรูปใบหอก ถึงรูปรีแคบ กว้าง 1-6 ซม ยาว 2-13 ซม ปลายแหลมหรือมน โคนสอบเป็นครีบ ขอบหยักไม่สม่ำเสมอหรือจักฟันเลื่อย ส่วนใบที่ปลายต้นมีขนาดเล็กคล้ายใบประดับ ช่อดอก แบบช่อกระจะ ออกตคามซอกใบหรือปลายยอด ช่อตั้งก้านดอกยาว 0.5-3 ซม ไม่มีใบประดับย่อย กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังยาว 1-1.5 ซม มีลายเส้น 10 เส้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปไข่แกมรูปใบหอกหรือรูปกึ่งสามเหลี่ยม กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 5-6 มิลลิเมตร มีน้อยมากที่แฉกด้านล่าง ๒ กลีบจะแยกเป็นแฉกย่อย กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบกึ่งรูปปากเปิด ยาว 3-4.5 เซนติเมตร โค้งขึ้นเล็กน้อยหรือตรง มีรอยจีบ จากโคนหลอดถึงคอหลอด มีขนอุย ปลายหลอดแยกเป็น 5 แฉก ด้านบน 2 แฉก พับขึ้น ด้านล่าง 3 แฉกเหยียดตรง กว้าง 0.4-1 เซนติเมตร ยาว 5-7 มิลลิเมตร ปลายมนถึงเว้าตื้น ด้านนอกสีแดง แกมสีม่วง ด้านในสีส้มแกมสีเหลือง เกสรเพศผู้ มี 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน อับเรณูรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร รังไข่เหนือวงกลีบ รูปไข่ มี 2 ช่องเมื่อยังอ่อน แต่จะเหลือ 1 ช่องเมื่อแก่ มีออวุลจํานวนมาก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแฉกแบน 2 แฉก ผล แบบผลแห้งแตกกลางพู มีกลีบเลี้ยงติดทน รูปไข่ถึงรูปไข่แคบ เมล็ด ขนาดเล็กมาก
ถิ่นกําเนิดและการกระจายพันธุ์ โกฐขี้แมวเป็น พืชถิ่นเดียวของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พบขึ้นตามไหล่เขา ข้างทาง หรือตามที่รกร้าง ตั้งแต่ระดับน้ําทะเลจนถึงสูงประมาณ 1,100 เมตร โดยเฉพาะมณฑลกานซู เหอเป่ย์ เหอหนาน หูเป่ย์ เจียงซู เหลียวหนิง ชานตง ฉ่านซี ชานซี และเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปลูกกันมากในมณฑลเหอหนาน ในเกาหลีและ ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพรีคลินิกพบว่า ญี่ปุ่นปลูกเพื่อนํารากมาใช้เป็นยา ออกดอกและ เป็นผลเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม โกฐขี้แมวเป็นก้อนคล้ายขี้แมว รูปร่างไม่แน่นอนหรือรูปขอบขนาน ป่องกลาง เรียวเล็กลงที่ปลายทั้ง 2 ข้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-6 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร บางอันมีขนาดเล็ก บิด เนื้อแน่น ผิวนอกสีดํา แกมสีน้ําตาลหรือสีเทาแกมสีน้ําตาล มีรอยย่น เป็นคลื่นจํานวนมาก เนื้อหนัก นิ่ม เหนียว หักง่าย รอยหักสีดําแกมสีน้ําตาล เป็นมัน ไม่มีกลิ่น รสหวานเล็กน้อย โกฐขี้แมวมีองค์ประกอบทางเคมีเป็นสารกลุ่มอิริดอยด์ไกลโคไซด์ (iridoid glycosides) หลายชนิด เช่น คะทัลโพล(catalpol), แอลูกอล (ajugol), รีห์มันนิโอไซด์เอ (rehmannioside A), รีห์มันนิโอไซด์บี (rehmannioside B), รห์มันนิโอไซด์ซี (rehmannioside C), รีห์มันนิโอไซด์ดี (rehmannioside D) นอกจากนี้ยังมีสารกลุ่ม ไอโอโนนไกลโคไซด์ (ionone glycosides)เช่น รห์มาไอโอโนไซด์เอ (rehmaionosides A), รีห์มาไอโอโนไซด์บี (rehmaionosides B). รีห์มาไอโอโนไซด์ซี (rehmalonosides C), สารกลุ่มมอโนเทอร์พื้นไกลโคไซด์ (monoterpene glycosides) เช่น รีห์มาพิโครไซด์ (rehmapicroside) ตลอดจนสารอื่นๆ อีกหลายชนิด
รสอมหวาน ขม เย็น มีฤทธิ์ระบายความร้อน เสริมธาตุน้ำ ทำให้เลือดเย็น และ ห้ามเลือด รักษาโรคที่มีอาการหยินพร่องทำให้ลิ้นแดง กระหายน้ำ เป็นจ้ำเลือด และ อาเจียนเป็นเลือด
รสอมหวาน ขม เย็น มีฤทธิ์ระบายความร้อน ทำให้เลือดเย็น รักษาโรคที่ความร้อนเข้ากระแสเลือด เช่น ปากแห้ง ลิ้นแดง เลือดร้อน และ ออกนอกระบบ เช่น ตกเลือด จ้ำเลือด อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล มีฤทธิ์เสริมยินและธาตุน้ำ รักษาโรคที่เสียธาตุน้ำ เช่น ร้อนใน กระหายน้ำ คอแห้ง
มีรสอมหวาน อุ่นเล็กน้อย มีฤทธิ์บำรุงเลือด เสริมยิน รักษาโรคที่เลือดพร่อง ซีดเหลือง วิงเวียน นอนไม่หลับ ประจำเดือนไม่ปกติ ตกเลือด ยินของไตพร่อง เช่น เหงื่อออกตอนหลับ ฝันเปียก กระหายน้ำ และมีฤทธิ์บำรุงธาตุน้ำและไขกระดูก รักษาโรคที่ธาตุน้ำและเลือดของตับและไตพร่อง เช่น เอวและเข่าปวดเมื่อยอ่อนแรง วิงเวียน หูอื้อ หนวด และ ผมขาวก่อนวัย