แสมเกาหลีแดง ใช้ส่วนรากที่มีอายุ 5-7 ปี ซึ่งมีสีขาว (white ginseng) ในการผลิตจะต้องนำผ่านความร้อนชื้นที่อุณหภูมิ 98-100 °C เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมงก่อนให้เปลี่ยนเป็นสีแดง (red ginseng) เพื่อให้มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่มากขึ้น
โสมมีสารสำคัญชื่อ ginsenoside ที่มีการรายงานกลไกการออกฤทธิ์ต่อการชะลอวัยหลายกลไก แต่กลไกหลักคือการต้านอนุมูลอิสระและการจับกับโลหะหนักส่วนเกินในร่างกาย เนื่องจาก ginsenoside สามารถกระตุ้นการทำงานของ superoxide dismutase (SOD) และ glutathione peroxidase ทำให้เพิ่มการทำลายสารอนุมูลอิสระได้มากขึ้นและกระตุ้นการสร้างโปรตีนต้านอนุมูลอิสระ เช่น nuclear factor erythroid 2-related factor-2 (Nrf2) และ heme oxygenase-1 (HO-1) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษารายงานประสิทธิภาพในการปกป้องการถูกทำลายของ plasmid DNA จากสารอนุมูลอิสระ(5) รวมถึงการเพิ่มการทำงานของ T-cell และ interleukin-2 (IL-2) ในช่วงเกิดการเสื่อมของเซลล์เพื่อเป็นตัวควบคุมการทำงานของภูมิคุ้มกัน (immunomodulation) และลดสัญญาณการตายของเซลล์ประสาทจากการกระตุ้นสัญญาณ Nrf2 และ NAD-dependent protein deacetylase sirtuin-1 (SIRT1) ได้
เราสามารถใช้โสมเพื่อป้องกันการเสื่อมของเซลล์ประสาทในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความจำเสื่อมได้ ซึ่งอาจใช้เป็นการประกอบอาหารทั่วไปหรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ginsenoside มีผลต่อลดระดับไขมันในเลือดและระดับไตรกลีเซอไรด์ เพิ่ม HDL กระตุ้นการทำงานของ carnitine palmitoyl transferase-1 (CPT-1) และ acyl-CoA oxidase (ACO) ในการเผาผลาญไขมัน และกระตุ้น peroxisome proliferator-activated receptor (PPAR) ส่งผลลดการเกิด insulin resistance นอกจากนี้ยังลดความดันโลหิตได้จากการสร้าง nitric oxide ยับยั้งเอนไซม์ angiotensin-converting enzyme (ACE) และยับยั้ง calcium channel * จากผลในสัตว์ทดลอง โสมมีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงมีการศึกษาในประชากรสุขภาพดีจำนวนไม่มาก พบว่ากลุ่มที่รับประทานโสมแดง 3 g และกลุ่มที่ได้สารสกัดโสมแดง มีค่าความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดง (augmented index) หลังรับประทานโสมแดง 180 นาที เท่ากับ −6.06 ± 2.21 และ −6.32 ± 2.34 ตามลำดับ ซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่า−1.47 ± 1.77 (p=0.03)
ที่มา: กฤษฏิ์ วัฒนธรรม