ติ่มเฮียง ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง เมื่อตัดเอาเนื้อไม้มาสักชิ้นหนึ่ง แล้ววางลงในน้ำจะจมลงทันที จึงได้ชื่อภาษาจีนตามลักษณะดังกล่าว (กฤษณา ภาษาจีนเรียกว่า ติ่มเฮียง แปลเป็นไทยว่า "ไม้หอมที่จมน้ำ") ตวามเป็นมาของกฤษณานี้เมื่อเรื่องเล่าของจีนโบราณว่า ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อ แปะมักเฮียง เมื่อถูกฟันด้วยมีดหรือขวานแล้ว มดจะมารุมล้อมรอยตรงรอยแผลที่ถูกฟันนั้น จากนั้นไม้จะขับยางออกมาเป็นก้อน ตรงรอยแผลที่ถูกฟัน 10-20 ปีให้หลัง ยางนั้นจะเปลี่ยนจากสีขาวมาเป็นสีดำ หากนำเอายางไม้นี้ใส่ลงในน้ำก็จะจมลง หร้อมกับส่งกลิ่นหอมออกมา เนื้อไม้ส่วนที่มียางจับเป็นก้อนแข็งอยู่นั้น ก็คือ กฤษณา ที่ใช้เป็นยานั่นเอง กฤษณา ในตำราจีนจัดเป็นยาชั้นดีชนิดหนึ่ง กฤษณาของไทยจัดเป็นยาคุณภาพดี เมื่อใช้สารทำละลายอาซีโตนสกัดสารมีฤทธิ์จากกฤษณา พบว่ามีน้ำมันหอมระเหยอยู่ปริมาณสูง นอกจากนี้ยังพบสาร Agarospirol, Agarol, Agarofuran, Nor-Ketoagarofuran, Selinane เป็นต้น กฤษณาเป็นยารสเผ็ดปนขม ฤทธิ์อุ่น
กฤษณาเป็นไม้หอม ไม้ต้นขนาดย่อม เนื้อไม้ มีรสหอม สรรพคุณ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ปอด แก้หน้ามืดวิงเวียน