เทียงมั้ว "เทียงมั้ว" ชื่อเดิมเรียกว่า "เฉี่ยะจี่" แปลว่า "ศรแดง" ทั้งนี้ก็เพราะลำต้นมีสีแดง และชูขึ้นมียอดแหลมคล้ายลูกศรสีแดงนั่นเอง เทียงมั้วเติบโตได้ก็เพราะในตัวมันเองมีสารที่สามารถละลายพืชจำพวกเห็ดได้ จากนั้นจึงดูดรับสารอาหารจากเห็ด เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ฉะนั้นเทียงมั้วจึงได้ฉายาว่า "พืชกินเห็ด" จึงเรียกอีกชื่อว่า "เฉียะจี่จือ" แปลว่า "เห็ดศรแดง" หมายถึง ศรแดงที่ขึ้นบนเห็ดนั่นเอง ชาวจีนรู้จักใช้เทียงมั้วเป็นยามานานแล้ว ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นและถัง ในตำราเภสัชศาสตร์ "สิ่งหล่งปิ้งเช่าเก็ง" ก็ได้จัดเทียงมั้วเป็นยาบำรึงชั้นดีชนิดหนึ่ง เทียงมั้วเป็นไม้ล้มลุกที่ใช้เวลาเติบโตหลายปี เป็นพื้ชที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ด้วยตัวเอง รากและลำต้นอยู่ใต้ดินอวบใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปกรวย มีปลูกมากแถบมณฑลกุ้ยจิ๋ว, ยูนนาน, เสฉวน, ธิเบต, กวางสี ของประเทศจีน เทียงมั้วที่ขายกันเป็นหัวตากแห้ง ในหัวของเทียงมั้วมีสารจำพวก Vanillyl alcohol, Vanillin, วิตามินเอ, saponin, และ อัลคาลอยด์จำนวนเล็กน้อย