Fructus Aegle Marmelos, Bael Fruit
by ร้านขายยาย่งเชียงตึ๊ง 永昌堂药店 Yong Chieng Pharmacy
Sun, 03 Oct 2010 08:00:00 +0000
มะตูมแห้ง มะตูมแห้ง กลิ่นหอม
มะตูมเป็นผลไม่อ่อนไม่แก่และแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aegle marmelos (L.) Correa ในวงศ์ Rutaceae (วงศ์
เดียวกับส้ม มะนาว มะกรูด และไม้ประดับ เช่น แก้ว)
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย คนไทยรู้จักมะตูมกันดีในแง่ของการเป็นไม้มงคล หรือนำผลมะตูมไปใช้ทำขนมและเครื่องดื่ม
ผลอ่อนของมะตูมนำมาฝานเป็นแว่น ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาต้มกับน้ำใส่น้ำตาลเป็นเครื่องดื่ม
ผลมะตูมมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก โดยในผลสุกน้ำหนัก 100 กรัมมีน้ำเป็น
ส่วนประกอบอยู่ 61.5 g, โปรตีน 1.8 g, เกลือแร่ 1.7 g, คาร์โบไฮเดรต 31.8 g, วิตามินบีสอง
1.19 mg เพกติน (pectin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งในผลมะตูม มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ นอกจากนี้ยังมีแคโร
ทีนอยด์, วิตามินซี, แทนนิน, แอลคาลอยด์ เช่น อีจีลีน (aegeline), มาร์เมลีน (marmeline), คูมาริน เช่น มาร์
เมโลซิน (marmelosin), แซนโทท็อกซอล (xanthotoxol), สารหอมระเหยกลุ่มมอโนเทอร์พีนอยด์กับเซสควิเทอร์พีนอยด์ เป็นต้น
เมล็ดมะตูมมีน้ำมันอยู่ประมาณ 34.4% ของน้ำหนักแห้ง มีกรดไขมันหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ
ในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ผลมะตูมอ่อนเป็นส่วนผสมในยาผสมโคคลานสูตรตำรับที่ 1 และ 2 ซึ่งมีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อย และในยาตรีเกสรมาศ ซึ่งช่วย
ปรับธาตุและแก้อ่อนเพลีย
สารที่พบในผลมะตูม
อีจีลีน (aegeline)
- มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน และลดไขมันในเลือดของแฮมสเตอร์ที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โดยสารอาจออกฤทธิ์เป็น agonist ของตัวรับ
beta 3 adrenergic
- อีจีลีนและสารที่มีสูตรโครงสร้างใกล้เคียงกันอีกหลายชนิดที่พบในใบมะตูมมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส (α-glucosidase)
- สามารถกระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่กล้ามเนื้อด้วยวิถีการส่งสัญญาณผ่าน AKT (protein kinase B) และ Rac1 (Ras-related C3 botulinum
toxin substrate 1) ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อลายไวต่ออินซูลินยิ่งขึ้น
- ลดภาวะเครียดเหตุออกซิเดชัน (oxidative stress) จึงลดการอักเสบในเซลล์ตับของหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้มีไขมันพอกตับจากการได้รับ
อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
- ลดการเกิดพังผืด (fibrosis) ของเซลล์ไตจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
- ลดระดับไขมัน LDL ที่ถูกออกซิไดซ์ (oxidized low-density lipoprotein) และลดตัวรับ LOX-1 (lectin-like
oxidized low-density lipoprotein receptor-1) ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นจะทำให้มีไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือด
อีจีลีนจึงอาจมีฤทธิ์ต้านหลอดเลือดอุดตัน
- มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาท โดยกระตุ้นตัวรับ NMDA (N-methyl-D-aspartate) ที่ GluN1/2A subunits แล้วส่งผลช่วยลดการตายของเซลล์ประสาทสมองจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) ลงได้ [18] ลดการหลั่งฮิสตามีนจาก mast
cells ต้านซึมเศร้า โดยลดการทำงานของเอนไซม์มอโนเอมีนออกซิเดส-เอ (monoamine oxidase-A) และบรรเทาอาการปวดโดยลดระดับ interleukin-6 ในซีรัมของหนูทดลอง
โอ-(3,3-ไดเมทิลแอลลิล)-ฮาลฟอร์ดินอล [O-(3,3-dimethylallyl)-halfordinol]
- การทดลองกับเซลล์ไขมันสารโอ-(3,3-ไดเมทิลแอลลิล)-ฮาลฟอร์ดินอลมีฤทธิ์กระตุ้นการสลายไขมัน และลดการเปลี่ยนสภาพของเซลล์
ไขมัน (adipocyte) ในหนูทดลองที่ได้รับอาหารไขมันสูง สารนี้แสดงฤทธิ์คล้ายอีจีลีน โดยช่วยลดระดับน้ำตาล
และไตรกลีเซอไรด์ในพลาสมา รวมทั้งลดเนื้อเยื่อไขมัน
- มีการทดลองสังเคราะห์อนุพันธ์ในรูปเกลือโบรไมด์ของสารนี้หลายชนิด แล้วนำไปทดสอบฤทธิ์ลดไขมันกับเซลล์ไขมันชนิด 3T3-L1 และทดสอบกับแฮมสเตอร์ที่
ได้รับอาหารที่มีแคลอรีสูง ก็พบว่าอนุพันธ์ oxazole เหล่านั้นสามารถลดไขมัน โดยเพิ่มอัตราการใช้ออกซิเจน
ของไมโตคอนเดรียในช่วงต้นของการเปลี่ยนสภาพเซลล์ไขมันโดยอาศัยการกระตุ้นวิถี AMPK (AMP-activated
protein kinase)
มาร์เมโลซิน (marmelosin) หรือ อิมเพอราทอริน (imperatorin)
พบได้ในผลมะตูม หรือในพืชสมุนไพรหลายชนิดในสกุล Angelica ของวงศ์ Apiaceae เช่น ในโกฐสอ (Angelica dahurica) ในรากและผลแองเจลิ
กา (A. archangelica)
* สารนี้ที่สกัดได้จากมะตูมแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ต้านอักเสบ
* ต้านเซลล์มะเร็งเต้านม โดยเข้าไปยับยั้งที่ตำแหน่งออกฤทธิ์ของโปรตีน HSULF-2 (heparan sulfatase-2) ของเซลล์มะเร็ง
* ในหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและต้านอักเสบของสารช่วยลดการบาดเจ็บของไตลงได้
* สารนี้ช่วยปกป้องตับของหนูทดลองจากพิษของยาพาราเซตามอลที่สูงเกินขนาด
* ช่วยป้องกันและบำบัดภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (vascular dementia) โดยลดภาวะเครียดเหตุออกซิเดชัน ปกป้องเซลล์ประสาทจากการอักเสบ โดยผ่านวิถี
ส่งสัญญาณ Nrf2 (NF-E2 p45-related factor 2)
* ยับยั้งเอนไซม์ MAPK (mitogen-activated protein kinase) รวมทั้งหลาย ๆ วิถีส่งสัญญาณในกระบวนการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับ NF-κB จึงช่วยบำบัดการอักเสบ
ของเซลล์ประสาทในภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
* ลดการสูญเสียเซลล์ประสาทโดพามิเนอร์จิกในสมองส่วนกลางของหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เป็นโรคพาร์กินสัน และช่วยบำบัดอาการของโรคโดยการควบคุมวิถีส่งสัญญาณ PI3K–AKT
* มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์บิวทิริลโคลิเนสเทอเรส (butyrylcholinesterase) ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้บำบัดโรคอัลไซเมอร์
* ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) ยังพบว่า มาร์เมโลซินสามารถกระตุ้นการสร้างกระดูก (osteogenesis) และยับยั้งการ
เปลี่ยนแปลงของเซลล์สลายกระดูก (osteoclast) จึงช่วยบำบัดโรคกระดูกพรุนในหนูทดลองได้
อัมเบลลิเฟอโรน (umbelliferone)
- มีผลต่อประสาทส่วนกลาง โดยช่วยลดพฤติกรรมที่คล้ายอาการซึมเศร้าในหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้มีภาวะเครียดอย่างไม่รุนแรงเป็นเวลานานมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทไม่ให้แตกตาย
(apoptosis) โดยลดระดับการส่งสัญญาณผ่าน Rho-associated protein kinase (ROCK) และเพิ่มระดับการส่งสัญญาณด้วย AKT
- ในแบบจำลองภาวะเครียดซึมเศร้าหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง (post-traumatic stress disorder หรือ PTSD) โดยใช้หนูทดลอง สารนี้ก็สามารถลดอาการซึมเศร้าของสัตว์ทดลองลงได้เช่นกัน
- ในด้านการบำบัดภาวะความจำเสื่อม อัมเบลลิเฟอโรนช่วยให้หนูทดลองที่ความจำเสื่อมหลังจากได้รับสารสกอพอลามีน (scopolamine) กลับฟื้นความสามารถในการเรียนรู้และมีความจำคืนมาได
- ช่วยให้หนูที่ความจำเสื่อมมีการทำงานของสมองเพื่อรับข้อมูลและตัดสินใจ (cognitive functions) ได้ดีขึ้น
- บรรเทาความผิดปกติในการทำงานของสมองหนูทดลองซึ่งใช้เป็นแบบจำลองสำหรับศึกษาโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดเป็นครั้งคราว (sporadic Alzheimer's disease) โดยประโยชน์ของอัมเบลลิเฟอโรนในแง่นี้อาจเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ยับยั้ง
เอนไซม์แอซีทิลโคลีนเอสเทอเรส และฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทของสาร
ที่มา: รองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร. รุทธ์ สุทธิศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.นนทเลิศ เลิศนิติกุล, ภาควิ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย