หู่จื้อ (เผ่า) รากแขนงแห้งที่ผ่านการฆ่าฤทธิ์ของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aconitum carmichaeli Debx. วงศ์ Ranunculaceae เตรียมโดยการคั่วทรายในกระทะด้วยไฟแรงจนกระทั่งทรายร้อนจัด จากนั้นนำฟู่จื่อที่หั่นเป็นแว่นๆ ใส่ลงในกระทะ คั่วกับทรายจนกระทั่งมีสืเหลืองอ่อน นำออกจากเตา ร่อนเอาทรายออก แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น การเผ้าจื้อจะทำให้ปริมาณรวมของแอลคาลอยด์ที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีลดลง
เสริมหยาง บำรุงธาตุไฟ ดึงพลังหยางที่สูญเสียไปให้กลับคืน อุ่น หยางของหัวใจ ม้าม และไต สลายความเย็น ระงับปวด
รสเผ็ด ร้อน มีฤทธิ์เสริมหยางให้ระบบหัวใจ ให้ความอบอุ่นแก่กระเพาะอาหาร เสริมความแข็งแรงของไต บำรุงธาตุไฟ กระจายความเย็นที่มาจับ บรรเทาอาการปวด ร่างกายอ่อนแอจากป่วยเรื้อรัง เหงื่อออกมาก อาเจียนมาก ถ่ายมาก มือเท้าเย็น ปวดปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน แก้ลมจับโปง คือ แก้ปวดตามข้อ และ ใช้ภายนอกเป็นยาชาเฉพาะที่
เน้นระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาทส่วนกลาง ฟู่จื่อสามารถกระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ฟู่จื่อมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดและปรับความดันเลือด ต้านกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉพาะที่ ต้านช็อก และช่วยให้การไหลเวียนในหลอดเลือดฝอยดีขึ้น ฟู่จื่อสามารถเพิ่มการทำงานของสารภูมิต้านทาน humoral immunity ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากเซลล์ cellular immunity และเพิ่มความทนทานของร่างกายต่อความเครียด ฟู่จื่อมีฤทธิ์ระงับปวด ทำให้สงบ และต้านอักเสบ ฟู่จื่อสามารถรักษากลุ่มอาการหยางพร่องและเพิ่มระดับของสารสื่อประสาท nor-adrenaline และ dopamine โดยยับยั้งการทำงานที่มากไปของระบบ M receptor-cGMP ของประสาท parasympathetic นอกจากนี้ฟู่จื่อยังมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด และต้านเนื้องอก ฟู่จื่อมีรสเผ็ด หวาน ร้อนมาก เข้าสู่เส้นลมปราณหัวใจ ไต และ ม้าม มีฤทธิ์ฟื้นฟูหยางให้กลับคืนมา บำรุงธาตุไฟและเสริมหยาง ขับกระจายความเย็นและระงับปวด