ใบหม่อน ซึงเฮี๊ยะ 桑叶 ตงซางเย้ ซางเย่ ซังเยี่ย ซวงเย่ หม่อน 霜桑叶 Morus alba ซึงเฮียะ 双叶 ซวงซางเย้ Folium Mori Mulberry Leaf ตงซังเยี่ย
ตังซึงเฮียะ ใบแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Morus alba L. วงศ์ Moraceae
ระบายและกระจายความแห้ง ร้อนของปอดและตับ ทำให้ตาสว่าง
รสขมอมหวาน เย็น มีฤทธิ์กระจายลมร้อน ช่วยให้ผ่อนคลาย แก้หวัดจากการกระทบลมร้อน ปวดศีรษะ มีฤทธิ์ให้ความชุ่มชื้น และระบายความร้อนที่ปอด ช่วยขับความร้อนจากปอด แก้อาการไอแห้ง และ มีฤทธิ์ผ่อนคลายตับ ช่วยให้ตาสว่าง แก้อาการวิงเวียนศีรษะ เนื่องจากหยางของตับกำเริบ ตาอักเสบ ตาลาย
ใบหม่อน รสจืด เย็น ใช้แก้ไข้ ตัวร้อน ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ ระงับประสาท ขับเหงื่อ แก้เจ็บคอ
ใบหม่อน มีสารที่มีโครงสร้างคล้ายน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวอยู่หลายชนิด ซึ่งเป็นสารสำคัญในการลดน้ำตาลในเลือด โดยไปยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ให้เป็นโมเลกุลเดี่ยว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ นำมาใช้โดยเอาใบหม่อนแห้ง 2-3 ช้อนโต๊ะ ใส่แก้วกาแฟแล้วเติมน้ำร้อน จะได้น้ำชาใบหม่อนสีเหลืองอ่อนปนน้ำตาล กลิ่นหอมใบไม้คั่ว เช่นเดียวกับกลิ่นชาแต่กลิ่นอ่อนกว่า รสหวานออกฝาดเล็กน้อย
ในหม่อนมีสารสาคัญคือ 1-deoxynojirimycin หรือ DNJ มีฤทธิ์แรงในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ซึ่งช่วยลดระดับน้าตาลในเลือดหลังอดอาหารได้ดี
มีงานวิจัยจานวนมากที่พบบ่งชี้ว่าการใช้หม่อน (M. alba) ชนิดรับประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบชาชงสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รวมถึงสามารถลดระดับน้าตาลในเลือดในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้ว จากข้อมูลที่ผ่านมาทาให้หม่อนได้รับความนิยมในการใช้เพื่อลดน้าตาลในเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเสริมกับยาแผนปัจจุบัน ใบหม่อนมีสารประกอบทางเคมีหลายชนิด โดยสามารถพบสารกลุ่ม bioflavonoid และสาร glycoprotein, moran A เป็นสารที่มีฤทธิ์ลดน้าตาลในเลือด
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ได้แก่ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ บารุงผิว กาจัดหอยทาก มีฤทธิ์สงบประสาท ลดอาการบวม ยับยั้งเอนไซม์ของเชื้อเอชไอวี มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา เชื้อไวรัสที่ก่อโรคเริมที่อวัยวะเพศ