แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กอายุ ( 3-5 ปี ) ฉบับย่อ สำหรับครูหรือผู้ดูแลเด็ก

by ร้านขายยาย่งเชียงตึ๊ง 永昌堂药店 Yong Chieng Pharmacy
Mon, 11 Sep 2023 08:00:00 +0000
Read full version

ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก

ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก เป็นความพร้อมทางอารมณ์ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น โดยรู้จัก อารมณ์ตนเองและผู้อื่น แสดงความเห็นใจหรือปลอบใจผู้อื่น อดทนและรอคอยได้ มีนํ้าใจ รู้จักให้ รู้จัก แบ่งปัน รู้ว่าทำผิด หรือยอมรับผิด มีความกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมทำให้ตนเองเกิดความสุข โดยมีความพอใจ ความอบอุ่นใจ และความสนุกสนานร่าเริง

การประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก

การประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กจะช่วยให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก ได้ทราบถึงจุดดีจุดเด่นของลักษณะ ความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรส่งเสริมและจุดอ่อนที่ควรพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป รวมทั้งสามารถใช้ในการ ติดตามเพื่อดูพัฒนาการทางอารมณ์ว่ามีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดเมื่ออายุเพิ่มขึ้น การประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก ประเมินคุณลักษณะ 3 ด้าน คือ

  1. ด้านดี เป็นความพร้อมทางอารมณ์ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นโดยประเมินจากการรู้จัก อารมณ์ตนเองและผู้อื่น แสดงความเห็นใจหรือปลอบใจผู้อื่น อดทนรอคอยได้ มีนํ้าใจ รู้จักให้ รู้จักแบ่งปัน รู้ว่าทำผิดหรือยอมรับผิด

  2. ด้านเก่ง เป็นความพร้อมทางอารมณ์ที่จะพัฒนาตนไปสู่ความสำเร็จโดยประเมินจาก ความกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

  3. ด้านสุข เป็นความพร้อมทางอารมณ์ที่จะทำให้ตนเองเกิดความสุข โดยประเมินจากการมี ความพอใจ ความอบอุ่นใจ และความสนุกสนานร่าเริง

วิธีประเมิน

ให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก ตอบคำถามที่เกี่ยวกับเด็กในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา โดยเลือกคำตอบที่ใกล้เคียงกับตัวเด็ก ที่เป็นอยู่จริงมากที่สุด

ข้อพึงระวัง

  1. ครู/ผู้ดูแลเด็ก (ความรู้ไม่ตํ่ากว่า ป.6) ในศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล ประเมินความฉลาดทาง อารมณ์เด็กปีละ 1 ครั้ง ในเทอมสองหรือภายหลังที่รู้จักคุ้นเคยกับเด็กไม่น้อยกว่า 4 เดือน

  2. ผลการประเมินเป็นคะแนนของเด็กรายบุคคล ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับเด็กอื่น ว่ากล่าว ตำหนิเด็ก หรือใช้เป็นข้อตัดสินในการคัดเลือกเด็ก

ความรู้สึกและพฤติกรรมของเด็กในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา

1)

[ ดี ] แสดงความเห็นใจเมื่อเห็นเพื่อนหรือผู้อื่นทุกข์ร้อน เช่น บอกว่าสงสาร เข้าไปปลอบหรือเข้าไปช่วย

2)

[ ดี ] หยุดการกระทำที่ไม่ดีเมื่อผู้ใหญ่ห้าม

3)

[ ดี ] แบ่งปันสิ่งของให้คนอื่นๆ เช่น ขนม ของเล่น

4)

[ ดี ] บอกขอโทษหรือแสดงท่าทียอมรับผิดเมื่อรู้ว่าทำผิด

5)

[ ดี ] อดทน และรอคอยได้

6)

[ เก่ง ] อยากรู้อยากเห็นกับของเล่นหรือสิ่งแปลกใหม

7)

[ เก่ง ] สนใจ รู้สึกสนุกกับงานหรือกิจกรรมใหม่ๆ

8)

[ เก่ง ] ซักถามในสิ่งที่อยากรู้

9)

[ เก่ง ] เมื่อไม่ได้ของเล่นที่อยากได้ก็สามารถเล่นของอื่นแทน

10)

[ เก่ง ] ยอมรับกฎเกณฑ์หรือข้อตกลง แม้จะผิดหวัง/ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ

11)

[ สุข ] แสดงความภาคภูมิใจเมื่อได้รับคำชมเชย เช่น บอกเล่าให้ผู้อื่นรู้

12)

[ สุข ] รู้จักหาของเล่น หรือกิจกรรมเพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน

13)

[ สุข ] แสดงอารมณ์สนุกหรือร่วมสนุกตามไปกับสิ่งที่เห็น เช่น ร้องเพลง กระโดดโลดเต้น หัวเราะเฮฮา

14)

[ สุข ] เก็บตัว ไม่เล่นสนุกสนานกับเด็กคนอื่นๆ

15)

[ สุข ] ไม่กลัวเมื่อต้องอยู่กับคนที่ไม่สนิทสนม

แชร์บทความให้เพื่อน

Read on Full Site