วันก่อนได้คุยกับพี่ที่รู้จักท่านหนึ่ง เป็นพี่ผู้ชายอายุประมาณ 40 ปี พี่เขามีอาการหนึ่งที่สร้างความรําคาญ ใจมาหลายปี ก็คือมีเสลดอยู่ในคอตลอดเวลา เป็นเสลดใสแต่มีความหนืด ทําให้ต้องคอยกระแอมให้คอโล่งอยู่ บ่อยๆ แดงเองก็สังเกตได้ในระหว่างที่เราคุยกัน นอกจากเสลด ยังชอบมีไข้ต่ำๆ ช่วงเย็น
พอซักถามถึงการกิน การอยู่ การใช้ชีวิต ทําให้รู้ถึงสาเหตุ เลยให้คําแนะนําพี่เขาไป มั่นใจว่าถ้าทําแบบนี้ อาการดีขึ้นแน่นอน เลยอยากนํามาแบ่งปันเผื่อใครมีอาการอยู่จะได้นําไปใช้ได้ค่ะ
สรุปพฤติกรรมของพี่เขาเป็นประมาณนี้ค่ะ
- ทํางานโปรดักชั่น ตัดต่อสื่อ ทําให้นอนดึกมาตั้งแต่เริ่มทํางาน เป็นสิบปีเรื่อยมาจนถึงวันนี้
- ดื่มน้ําน้อย ทั้งวันแทบไม่ได้ดื่มน้ําเปล่า ถ้าหิวน้ําจะดื่มชาเขียวรสธรรมชาติที่เคลมว่าไม่ใส่น้ําตาล หรือ ไม่ก็เป็ปซี่ ดื่มแบบนี้ทุกวันมาตลอดหลายปี
- ชอบกินของทอด ถ้ามื้อไหนไม่มีของทอดเป็นกับข้าว รู้สึกเหมือนขาดอะไรไป
- กินเมนูซ้ำๆ ไม่หลากหลาย
- ตั้งแต่มีลูก 3 ปีแล้วที่ไม่ได้ออกกําลังกายเลย
- ทํางานสายสื่อต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทํางานบริหารมีลูกน้อง ทําให้ใช้ความคิดเยอะ มีความเครียด
- ไม่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย กินข้าวสามมื้อ หนักมื้อเย็น
อย่างที่แดงเคยเล่าไปว่าโรคในทางแผนไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือโรคทางปิตตะ วาตะ และ เสมหะ ของพี่เขาชัดเจนว่าเป็นที่ระบบเสมหะ คือเสมหะงวด หนืด เคลื่อนไม่ดี และมีอาการไฟกําเริบด้วยทําให้มี ไข้ต่ำๆ ไอความร้อนขึ้นสูงยิ่งเสริมให้เสมหะเหนียวแห้ง ซึ่งทั้งหมดมาจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตค่ะ ถ้าเราเห็นภาพนี้แล้วแก้ที่ต้นเหตุ ปรับที่ระบบไฟ ลด ความร้อนในตัวลง (ปิตตะ) เพิ่มให้ระบบสูบฉีดลมในร่างกายทํางานได้ดีขึ้น (วาตะ) และเพิ่มน้ําให้เสมหะเหลว หลนมากขึ้น (เสมหะ) อาการที่เป็นเรื้อรังเหล่านี้แทบจะหายแบบไม่ต้องใช้ยาเลย
คําแนะนําคือเเบบนี้ค่ะ
- เข้านอนให้เร็วขึ้น ดึกสุดๆ ไม่เกิน 5 ทุ่ม ช่วง 4 ทุ่มถึงตี 2 ระบบปิตตะในร่างกายจะได้พัก ทำให้ร่างกายไม่ร้อนจนไอความร้อนลอยขึ้นเผาให้เสมหะแห้ง ถ้าเรานอนเร็วและตื่นเช้า อาการไข้ต่ำๆ ระคายคอ ร้อนในก็จะดีขึ้นด้วย
- หยุดดื่มชาเขียวขวดและนําอัดลมแทนน้ํา น้ําปรุงแต่งเหล่านี้แม้จะระบุว่าไม่มีน้ําตาล สารปรุงแต่ง ดื่มนานๆ ครั้งไม่มีปัญหา แต่ไม่ควรดื่มทุกวันแทนน้ําเปล่า เพราะนอกจากจะทําให้คิดรสชาติแล้ว ชาและน้ําอัดลมยังมีคาเฟอีนที่มีฤทธิ์ขับน้ําออก ยิ่งทําให้น้ําที่น้อยเคลื่อนไม่ดีอยู่แล้วแห้งไปใหญ่ แล้วยังมีโซดาที่ไปเพิ่มแรงดันสะสมในร่างกาย ไม่ดีกับระบบย่อย ในช่วงแรกอาจจะอดใจยากสักนิด ยังติดรสชาติ ) รสชาติโดยหยดน้ํายาอุทัยทิพย์ในน้ํา หรือฝานมะนาวบางๆ ลงในกระบอกน้ําเปล่า แล้วจิบทั้งวันก่อนก็ได้
- กินของทอดให้น้อยลง ไม่ใช่ทุกมื้อหรือทุกวันต้องมี กินเมนูที่ไม่ต้องใช้น้ํามันบ้าง เช่น นึ่ง ตั้ง คั่ว กินให้หลากหลาย ของทอดย่อยแล้วจะเหลืออนุมูลอิสระคงค้างสูง กินเยอะนานวันยิ่งเพิ่มปริมาณไอ ทําให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- เพิ่มการกินพืชผักสมุนไพรที่ทําให้ลมเคลื่อนดี เช่น ขิง ข่า กระชาย กะเพรา โหระพา แมงลัก พริกไทย ใบมะกรูด ตะไคร้ ซึ่งอยู่ในเครื่องต้มยํา น้ําพริก แกงป่า แกงเลียง แกงส้มทั้งหลาย อาหารกลุ่มนี้ช่วยจุดไฟ ย่อย ทําให้ระบบย่อยดี ลมเคลื่อน พัดเสมหะในร่างกายให้ไหลเวียนคล่องขึ้น
- เพิ่มการกินสมุนไพรรสเปรี้ยว รสเปรี้ยวจะช่วยเพิ่มน้ํา ทําให้เสมหะใส กัดเสลด ช่วยฟอกเลือด เช่น เราอาจจะบีบมะนาวลงไปในกับข้าวบ้าง กินผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ตระกูลเบอร์รี่ สับปะรด มะขาม ตะลิงปลิง (ถ้า ผลไม้เปรี้ยวมาก กินเสร็จ อย่าลืมดื่มน้ําตามเพื่อชะกรดไม่ให้กร่อนฟันด้วยค่ะ)
- ออกกําลังกาย จะทําให้ปอดทํางานได้ดีขึ้น หัวใจสูบฉีดเลือด และพาเสมหะทั้ง 12 ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายดีขึ้น คนที่มีเสลดเรื้อรังบ่งบอกว่าปอดมีของเสียเยอะ ปอดอ่อนแอ หัวใจทํางานไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นขอให้ลุกมาออกกําลังกาย เช่น เดินเร็วทุกวันวันละ 30 นาที ออกไปสูดอากาศลึกๆ ให้ปอดได้รับออกซิเจน ให้เหงื่อออก ก็จะเป็นวิธีบริหารปอดและหัวใจ ทําให้ระบบสูบฉีดและการไหลเวียนของของเหลวในร่างกายดีขึ้น ค่ะ อะไรที่เคยขัดก็จะคล่องขึ้น
ปัจจุบันพี่คนนี้ได้รับคําแนะนําให้กินอาหารเสริมคือ วิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม และอีกตัวที่เป็นสมุนไพรฝั่ง โลกตะวันตก จริงๆ แล้วพืชสมุนไพรบ้านเรามีเยอะมากที่มีวิตามินซีสูงและช่วยป้องกันโรคประจําถิ่นของเราได้ เป็นอย่างดี ถ้าอยากกิน แดงแนะนําให้กิน “ตรีผลา” เดี๋ยวนี้มีทั้งแบบน้ําและแบบเม็ดให้เลือกกินสะดวกมาก หรือจะซื้อมาต้มเองก็ยังได้
ตรีผลาเป็นพิกัดยาไทยที่ประกอบด้วยผลไม้ 3 อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม มีรสฝาด เปรียว สรรพคุณ ช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน แก้เสมหะจุกคอ และช่วยระบายสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะมะขามป้อมที่ผลวิจัยระบุว่ามีวิตามินซีสูง กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี หาซื้อง่าย ราคาไม่แพงด้วยคะ
บทความโดย : พท.ว.ภ.อุไรศรี เอกเศวตอนันต์ (หมอแดง แพทย์แผนไทย)
ที่มา : วารสารยา