ซานเอี้ยว 山药
เป็นทั้งยาสมุนไพรและอาหาร มีประวัติยาวนานกว่า 3,000 ปี ซานเอี้ยว มีฤทธิ์อุ่น รสหวาน เข้าเส้นลมปราณ 4 เส้น คือ ม้าม ปอด ไต หัวใจ เป็นอาหารบำรุงหยิน
สรรพคุณ
บำรุงส่วนกลาง บำรุงพลัง เสริมกล้ามเนื้อ ทำให้ผิวหนังและขนมีน้ำมีนวล แก้ท้องเสีย บำรุงไต เสริมปอด เหมาะสำหรับคนที่ระบบม้ามพร่อง กินน้อย ท้องเสีย ถ่ายเหลว น้ำกามเคลื่อน เหงื่อลักออก ตกขาว เบาหวาน ฯลฯ
ตำรับอาหารสมุนไพร ซานเอี้ยว
- น้ำกามเคลื่อน ใช้ซานเอี้ยว 9 กรัม เม็ดในท้อ 核桃仁 15 กรัม ทำให้ละเอียดในชาม เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อน น้ำตาลทรายขาวครึ่งช้อน นำไปนึ่ง แบ่งกินวันละ 2 ครั้ง
- เบาหวาน ซานเอี้ยว 30 กรัม ฟักเขียว 60 กรัม ต้มดื่มวันละ 1 ครั้ง
- ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ซานเอี้ยว 250 กรัม ล้างสะอาด นำไปนึ่งให้สุก ปอกเปลือกออก เติมแป้งหมี่ 150 กรัม น้ำผึ้ง 2 ช้อน เติมน้ำพอเหมาะ คลุกเคล้ากัน ทำให้เป็นแผ่น แล้วนำไปปิ้งไฟเป็นขนมปังรับประทาน
- เด็กเบื่ออาหาร ซานเอี้ยว (สุก) 15 กรัม ไข่แดง (สุก) 1 ใบ น้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย คลุกเคล้ากันให้ทั่ว ผสมไปในข้าวต้ม โจ๊ก ให้เด็กกินวันละ 2 ครั้ง
ข้าวบาร์เลย์
ทางการแพทย์แผนจีน กล่าวว่ามีคุณสมบัติกลางๆค่อนๆไปทางเย็น ไม่แห้ง ไม่ร้อน มีฤทธิ์ในการขับร้อนและบำรุงพลัง บำรุงกระเพาะอาหาร เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีกระเพาะอาหารอักเสบเป็นแผล
เพกา
Oroxylum indicum Vent. (ตระกูล Bignonniaceae)
สรรพคุณ
เมล็ดแก่ ระบายท้อง แก้ไอ ขับเสมหะ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
- สารสกัดด้วย dichlorometane ของเปลือกต้นและรากเพกามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus เชื้อรา Candida albicans และต้านการอักเสบ
- สารสกัดเปลือกต้นด้วยแอลกอฮอล์มีศักยภาพเป็นสารต้านมะเร็งเนื่องจากเมื่อทดสอบในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง หลายชนิด และมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์ Progression of cell cycle เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วย sea urchin eggs assay
- สารสกัดเปลือกต้นด้วยเมทานอลที่มี Baicalein เป็นองค์ประกอบ มีฤทธิ์ต้านเนื้องอก antimutagenicity ของ Trp-P-1 ใน Ames test ด้วยค่า IC50 2.78 +- 0.15 microM
ยี่หร่า
Carvone
สรรพคุณ
ขับลม
สมอไทย
anthraquinones
สรรพคุณ
ยาระบาย
ส้มป่อย
Acacia concinna DC. วงศ์ Leguminosae
ส่วนที่รับประทาน
ใบ ยอดอ่อน
มะแว้ง
Solanum indicum Linn. วงศ์ Solanaceae
ส่วนที่รับประทาน
ผลอ่อน
ดีปลี Piper longum วงศ์ Piperaceae
ดีปลีเชือก Piper retrofractum
ส่วนที่รับประทาน
ผลสุก ผลอ่อน
กระเจี๊ยบแดง
Hibiscus sabdariffa Linn. วงศ์ Malvaceae
ขิง
Zingiber officinale Rosc. วงศ์ Zingiberaceae
ส่วนที่รับประทาน
เหง้า
พริกไทย
Piper nigrum Linn. (ตระกูล Piperaceae)
สรรพคุณ
ช่วยขับลมแก้ท้องอืด บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ช่วยดับกลิ่นคาว กระตุ้นความอยากอาหาร บรรเทาอาการนอนไม่หลับ ขับเสมหะ แก้ไอ สะอึก แก้รำมะนาด
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
- มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- เร่งให้ตับทำลายสารพิษมากขึ้น
- Piperine มีฤทธิ์กดประสาทสวนกลาง แก้ปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ โดยมีรายงานการศึกษา ในหนูถีบจักร พบว่า piperine เสริมฤทธิ์ hexobarbital และต้านการชักของหนูได้
- Piperine สามารถกระตุ้นการหายใจที่ถูกกดโดย morphine และ pentobarbital ในสุนัขที่ทำให้สลบได้
ที่มา : ตำราวิชาการ อาหารสุขภาพ กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก